วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บุญพิธี

บุญพิธี ได้แก่ พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของคนไทยทั่วไป ส่วนมากทำกันเกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องต้องการ สิริมงคลบ้าง เรื่องตายบ้าง ในเรื่องเหล่านี้นิยมทำบุญทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระและ ตักบาตร เป็นต้น เพราะประเพณีนิยมดังนี้ จึงเกิดมีพิธีกรรม ที่จะต้องปฏิบัติขึ้นและถือสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล ฉะนั้น ในเรื่อ อ่านเพิ่มเติม

กุศลพิธี

      เรื่องกุศลพิธี เป็นเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรม ความดีงามทางพระพุทธ ศาสนาเฉพาะตัวบุคคล คือ เรื่องสร้างความดีแก่ตนทางพระพุทธศาสนา ตามพิธีนั่นเอง ซึ่งพิธี ทำนองนี้มีมากด้วยกัน เมื่อจัดเข้าเป็นหมวดเดียวกัน จึงให้ชื่อหมวดว่า หมวดกุศลพิธีฉะนั้น หมวดกุศลพิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะนำกุศลพิธีเฉพาะที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้น อย่างสามัญ มาชี้แจง อ่านเพิ่มเติม

วันออกพรรษา

 วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ อ่านเพิ่มเติม

วันเข้าพรรษา

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสี อ่านเพิ่มเติม

วันธรรมสวนะ

      ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่ เขาคิชกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้น พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลว่า นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนาของเขา แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี พระพุทธเจ้าจึงทรงอณุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนตามคำขออนุญาตข อ่านเพิ่มเติม

วันอาสาฬหบูชา

สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2559 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) แต่ อ่านพิ่มเติม

วันอัฏฐมีบูชา

           เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้อ อ่านเพิ่มเติม

วันวิสาขบูชา

        วันวิสาขบูชา 2559 ตรงกับวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม เชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของวันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของวันวิสาขบูชา และอ่านประวัติวันวิสาขบูชา พร้อม ๆ กันดี อ่านเพิ่มเติม

วันมาฆบูชา

              วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดย วันมาฆบูชา 2559 ตรงกับวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ วันนี้กระปุกดอทคอม จึงมี ประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา มา อ่านเพิ่มเติม

ชกดก

             ชาดก (สันสกฤตบาลีजातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก
ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดย อ่านเพิ่มเติม



วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อธิศีลสิกขา

        อธิศีลสิกขาอธิ (ยิ่ง , ละเอียด) + สีล (ปกติ , การงดเว้นจากายวาจาที่ชั่ว) + สิกฺขา (สภาพที่พึงศึกษา) สภาพที่พึงศึกษาคือศีลอันยิ่งใหญ่ หมายถึง ความสำรวมอินทรีย์ในทวารทั้ง ๖ ในขณะที่สติปัฏฐานหรือวิปัสสนาญาณเกิด เป็นความรู้สึกตัวและสังวรอันยิ่งอย่างละเอียดก่อนที่อกุศลจิตจะมีกำลังจนทำให้ก้าวล่วงออกมาทางกายหรือทางวาจา  และขณะนั้นไม่ได้มีความยึดถือว่า  ศีลของเราหรือเป็นเราที่มีศีล ศีล ๕ อ่านเพิ่มเติม

วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

       โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย การคิดพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนและลึกซึ้ง หรือการคิดที่ถูกวิธี มีระเบียบ มีเหตุผล และสร้างสรรค์ มี 10 วิธี ดังนี้                  
1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ คิดแบบมีเหตุผล เช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยใช้วิธีการคิดแบบสืบสาวหาเหตุจากปัจจัย พระองค์ตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ โดยทรงพิจารณาว่าเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์นี้เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย แล้วพระองค์ก็สืบสาวไปก็ทรงค้นพบว่า มีผัสสะ เป็นต้น
2. วิธีคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบ คือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นองค์ย่อย ๆ ทำให้มองเห็นความและความสมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยเหล่านั้นว่ามีความเกี่ยว กับเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลและพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร จึงประสานสอดคล้องกันเป็นองค์รวม วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เรารู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริง อ่านเพิ่มเติม


หลักกาลามสูตร 10 ประการ

        กาลามสูตร เป็นพระสูตรสำคัญสูตรหนึ่งในพระพุทธศาสนา ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ จากนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แท้ที่จริงในพระไตรปิฎกชื่อกาลามสูตรไม่ได้มีปรากฏอยู่ หากมีแต่ชื่อว่าเกสปุตตสูตร ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้แก่ชาวกาลามะ ซึ่งอยู่ในเกสปุตตนิคม เพราะฉะนั้นจึงตั้งชื่อพ อ่่านเพิ่มเติม

ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
คำอธิบาย: http://www.mcu.ac.th/mcutrai/images/clear.gif๑. แนวการวิจารณ์ (a critical approach)
คำอธิบาย: http://www.mcu.ac.th/mcutrai/images/clear.gifการจะวิจารณ์หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ๔ ประเภท คือ
๑.๑ รู้บาลีพระไตรปิฎกดี (สพยญฺชนํ) เพื่อที่จะเป็นหลักในการตีความคำสอนให้ตรงกับความหมายดั้งเดิมของพระพุท อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา

             พระพุทธศาสนา  นอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา    พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิ อ่านเพิ่มเติม